วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว

ชื่อ เด็กชาย ชัยวัฒ บัวหอม  เกิด 9 กุมภาพันธ์ 2540
ชื่อเล่น แม็ก  อายุ 15 ปี

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555



แม่เปรียบดัง สายน้ำที่สำคัญต่อทุกสิ่ง
แม่คือผู้ทำให้กำลังใจลูกเสมอในวันที่ลูกท้อ
แม่คือผู้ดูแลเราเสมอ
แม่ไม่รู้จักคำว่าเหนื่อย...เพื่อลูก

อุ่นใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม
อุ่นอกอ้อมแขนอ้อมกอดแม่ตระกอง
รักเจ้าจึงปลูก รักลูกแม่ย่อมห่วงใย
ไม่อยากไปไกล แม้เพียงครึ่งวัน
ให้กายเราใกล้กัน ให้ดวงตาใกล้ตา
ให้ดวงใจเราสองเชื่อมโยงผูกพัน

อิ่มใดๆ โลกนี้มิมีเทียบเทียม
อิ่มอกอิ่มใจ อิ่มรักลูกหลับนอน
น้ำนมจากอก อาหารของความอาทร
แม่พร่ำเตือนพร่ำวสอน สอนสั่ง
ให้เจ้าเป็นเด็กดี ให้เจ้าพลัง
ให้เจ้าเป็นความหวังของแม่ต่อไป

ใช่เพียงอิ่มท้อง
ที่ลูกร่ำร้องเพราะต้องการไออุ่น
อุ่นไอรัก อุ่นละมุน
ขอน้ำนมอุ่นจากอกให้ลูกดื่มกิน

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันเข้าพรรษา

 จัดเป็นพิธีกรรมของสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยท่านต้องการประพฤติปฏิบัติตามพระพุทธบัญญัติ (ข้อที่ตั้งขึ้นให้รู้ทั่วกันการกำหนดเรียก การวาวงเป็นกฎข้อบังคับ) ที่ทรงว่างเป็นระเบียบ ข้อบังคับให้สงฆ์ต้องเข้าพรรษา ในสถานที่ที่ทรงอนุญาตให้เข้าอาศัยอยู่ได้ และพิธีกรรมวัวนเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนได้มีส่วนร่วมประกอบ คุณงามความดี ตามหวน้าที่ของชาวพุทธ เพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์ อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจวันเข้าพรรษา เริ่ม ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึงววันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เรียกว่า ครบไตรมาส คือ ๓ เดือนนี่เป็นการเข้า"พรรษาต้น" ส่วนการเข้า"พรรษาหลัง" เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๙ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
พิธีกรรมของสงฆ์ ก่อนจะถึงวันเข้าพรรษา
   พระท่านจะทำการซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดีที่ใช้อยู่อาศัยได้ จัดการปัดกวาดหยากไย่เช็ดถู ให้สะอาด สาเหตุที่ต้องกระทำเสนาสนะให้มั่นคงและสะอาดก็เพื่อจะได้ใช้บำเพ็ญสมณกิจ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวฝนจะรั่วรดอุโบสถ
   ไหว้พระสวดมนต์เสร็จแล้วจึงกระทำพิธีเข้าพรรษา โดยกล่าวอธิษานตั้งใจ เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูฝน ในวันของท่านที่ตั้งใจจะอยู่
   คำกล่าวอธิษานเป็นภาษาบาลีว่า "อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัวสสัง อุเปมิ" แปลว่า "ข้าพเจ้าข้ออยู่จำพรรษาในวัดนี้ตลอด ๓ เดือน" โดยกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นพระผู้วน้อยก็กระทำ สามีกิจกรรม คือ กล่าวขอขมาพระผู้ใหญ่ว่า "ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไป ทางกาย วาจา ใจ เพราะประมาท" ส่วนพระผู้ใหญ่ ก็กล่าวตอบว่า อดโทษให้ เป็นอันว่าต่างฝ่ายต่างให้อภัยกัน นับเป็นอันเสร็จพิธีเข้าพรรษาในเวลานั้น ครั้งวันต่อไปพระผู้น้อยก็ จะนำดอกไม้ธูปเทียน กราบพระเถรานุเถระต่างวัด ผู้ที่ตนเคารพนับถือ
พิธีกรรมของพุทธศาสนิกชน อันเนื่องในวันเข้าพรรษา
     พุทธศาสนิกชนมีการกระทำบุญตักบาตรกัน ๓ วัน คือวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ และวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ และขนมที่นิยมทำกันในวันเข้าพรรษาได้แก่ ขนมเทียน และท่านสาธุชนที่มีความเคารพนับถือพระภิกษุวัดใด ก็จัดเครื่องสักการะ เช่น น้ำตาล น้ำอ้อย สบู่ แปรสีฟัน ยาสีฟัน พุ่มเทียน เป็นต้น นำไปถวายพระภิกษุวัดนั้น ยังมีสิ่งสักการะบูชา ที่พุทธศาสนิกชน นิยมกระทำกันเป็นงานบุญอีกอย่างหนึ่งคือ "เทียนเข้าพรรษา" บางแห่งจะมีการบอกบุญเพื่อร่วมหล่อเทียนแท่งใหญ่ แล้วแห่ไปตั้งในวัดอุโบสถ เพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยตลอด ๓ เดือน การแห่เทียนจำนำพรรษา หรือเทียนเข้าพรรษา จัดเป็น งานเอิกเกริก มีฆ้องกลองประโคมอย่างสนุกสนาน และเทียนนั้นมีการหล่อหรือแกะเป็นลวดลาย และประดับตกแต่งกันอย่างงดงาม
   เทศกาลเข้าพรรษนี้ ถือกันว่าเป็นเทศกาลพิเศษ ชาวพุทธ จึงขะมักเขมันในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดา บางคนตั้งใจรักษาอุโบสถตลอด ๓ เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระ ตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่างๆ พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้น การกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และบางคนอาศัย สาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณ เลิกอบายมุข และความชั่ว สามานย์ต่างๆ โดยตลอดไป จึงนับเป็นบุคคลที่ควร ได้รับการยกย่องสรรเสริญและได้รับสิ่งอันเป็นมงคล